วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วัดเขาศาลาขุนเขาสมุนไพรไทย

วัดเขาศาลา ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์


 พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง

ประวัติความเป็นมา
พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง ผืนป่าบางส่วนติดชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยการตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ป่าทั้งผืนแห่งนี้ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอีสานใต้ของประเทศไทย

ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 คณะกรรมการวัดได้มีมติในการจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสครั้งนั้น ลักษณะพระอุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ผลจากพลังศรัทธาสามัคคี และความมานะพยายามของพระครูภาวนาวิทยาคม (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาส ตลอดจนคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ได้ร่วมเสียสละกำลังกาย และทุนทรัพย์ อุปถัมภ์การก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ใช้งบทางราชการแต่อย่างใด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2541 เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ตามแบบพระธรรมวินัย และทางวัดได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมี พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธี

ในปี พ.ศ.2547 นอกเหนือจากมีพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตแล้ว ก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เลือกพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วม โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สมัครใจมาปฏิบัติธรรม โดยไม่ถือเป็นวันลาตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


การเดินทางตลอดสายเจอแต่ธรรมชาติทั้งนั้น


ทางขึ้นวัดเขาศาลา


มาถึงสันเขาก็จะเจอพระปรางค์องค์ใหญ่ลงมากราบไหว้


ด้านที่พระปรางค์หันออกไป


สันเขาก็มีสมุนไพรมากมายให้ศึกษา


พญาปล้องทอง


บริเวณทางขึ้นยอดเขาก็ยังมีสมุนไพรอีกมากมาย


บริเวณยอดเขาก็จะมีพระปรางค์รูปใหญ่



เมื่อเดินตรงไปก็จะเจอหน้าผา


รูปปั้นกวางอยู่บนหิน


บริเวณยอดเขาด้านบนจะมีหินเยอะมาก ทับถมกันอยู่


สิ่งที่นักท่องเที่ยวทุกคนไปแล้วชอบทำคือ การนำสิ่งต่างๆมาวางไว้ให้ดูเหมือนการค้ำจุนก้อนหินเชื่อว่า จะโชคดี


ในเมื่อเราเรียนแผนไทยก็ต้องลงไปศึกษาสมุนไพรกันหน่อย


ทางมีทั้งยากและง่ายปนๆกันไป


ต้นคูรูหรือ ต้นเข้าพรรษา ทำไมถึงชื่อนี้ เพราะมันออกดอกเฉพาะวันเข้าพรรษาครับ


กลิ้งกลางดง


ม้ากระทืบโรง


โอ่ววว..ใหญ่กว่านิ้วคนอีก


เก็บกระชายป่า


แล้วก็ขึ้นมาชมวิวสุดท้ายก่อนกลับ


ไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร เค้าไม่ได้เปิดให้เข้าไปดู

ทิ้งท้ายกับภาพวิวครับ^^

ความเห็นส่วนตัว คะแนนเต็ม 10 ให้ 7 ที่นี้มีหลายอย่างที่นักท่องเที่ยวที่ต้องการทำบุญต้องการทั้งบรรยากาศที่เย็นสบาย กับวิว ธรรมชาติสวย

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.m-culture.in.th/album/189012/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น