วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปราสาทภูมิโปน ศิลปะชาวเขมร

วันนี้ก็มีโอกาสได้ไป ปราสาทภูมิโปน ที่จังหวัดสุรินที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

ปราสาทภูมิโปนตั้งอยู่ที่ บ้านภูมิโปน ต.บ้านคม อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ลักษณะปราสาท
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์
แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง


ป้ายทางเข้าปราสาท








ตำนานปราสาทภูมโปน
ตำนาน เนียง ด็อฮ ทม ราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย เป็นตำนานของปราสาทภูมิโปน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มีเรื่องเล่าว่า ที่สระลำเจียก ห่างจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีกลุ่มต้นลำเจียกขึ้นเป็นพุ่มๆ ต้นลำเจียกที่สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยมีดอกเลย ในขณะที่ต้นอื่นๆนอกสระต่างก็มีดอกปกติ ความผิดปกติของต้นลำเจียกที่สระลำเจียกหน้าปราสาทจึงเป็นที่มาของตำนานปราสาทภูมิโปน การสร้างเมืองและการลี้ภัยของราชธิดาขอม
กษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าใหญ่ชื่อว่าปราสาทภูมิโปน ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิดเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระราชธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระราชธิดานั้นมีพระนามว่า พระนางศรีจันทร์หรือ เนียง ด็อฮ ทม แต่คนทั่วไปมักเรียกนางว่า พระนางนมใหญ่
กล่าวถึงเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งได้ส่งพรานป่าเจ็ดคน พร้อมเสบียงกรังและช้าง 1 เชือก ออกล่าจับสัตว์ป่าเพื่อจะนำมาเลี้ยงในอุทยานของพระองค์ พรานป่ารอนแรมจนมาหยุดพักตั้งห้างล่าสัตว์อยู่ที่ ตระเบีย็ง เปรียน แปลว่าหนองน้ำของนายพราน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านตาพรม ในปัจจุบันในที่สุดกลุ่มพรานสามในเจ็ดคน ก็ดั้นด้นจนไปพบปราสาทภูมิโปน และไปได้ยินกิตติศัพท์ความงามของพระนางศรีจันทร์เข้า พรานทั้งเจ็ดจึงได้ปลักลอบแอบดูพระนางศรีจันทร์สรงน้ำ และเห็นว่านางมีความงามสมคำร่ำลือจริง จึงรีบเดินทางกลับเพื่อไปรายงานพระราชา พระราชายินดีปรีดามาก รีบจัดเตรียมกองทัพเพื่อไปรับนางมาเป็นพระชายาคู่บารมี
ฝ่ายพระนางศรีจันทร์หลังจากวันที่ไปสรงน้ำก็เกิดลางสังหรณ์ กระสับกระส่ายว่ามีคนมาพบที่ซ่อนของนางแล้ว เมื่อบรรทมก็ฝันว่าได้ทำกระทงเสี่ยงทาย ใส่เส้นผมเจ็ดเส้น อันมีกลิ่นหอมและเขียนสาส์นใจความว่าใครเก็บกระทงของนางได้ นางจะยอมเป็นคู่ครอง ในกระทงยังให้ช่างเขียนรูปของนางใส่ลงไปด้วย เมื่อตื่นขึ้นมานางจึงได้จัดการทำตามความฝัน(ด้วยการที่นางเอาผมใส่ในผอบเครื่องหอม ผมนางจึงหอม นางจึงได้ชื่อว่า เนียง ช็อก กระโอบ หรือนางผมหอมอีกชื่อหนึ่ง) และนำกระทงไปลอย ณ สระลำเจียกหน้าปราสาท กระทงของนางได้ลอยไปยังอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองโฮลมาน และราชโอรสของเมืองนี้ได้เก็บกระทงของนางได้ ทันทีที่เจ้าชายเปิดผอบก็หลงรักนางทันที เจ้าชายโอลมานนั้นมีรูปร่างไม่หล่อเหลา แต่มีฤทธานุภาพมากในเรื่องเวทมนตร์คาถาและได้ชื่อว่ารักษาคำสัตย์เป็นที่ตั้ง พระองค์จึงไปสู่ขอนางตามประเพณีเพราะเป็นผู้เก็บผอบได้ แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เมื่อพระนางศรีจันทร์ได้เห็นรูปร่างของเจ้าชายโฮลมานนางจึงได้แต่นิ่งอึ้งและร้องไห้ เจ้าชายโฮลมานทรงเข้าพระทัยดีเพราะรู้ตัวว่าตัวเองมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่ด้วยความรักที่พระองค์มีต่อพระนางศรีจันทร์ พระองค์จึงไม่บังคับที่จะเอาตัวนางมาเป็นชายา กลับช่วยพระนางขุดสระสร้างกำแพงเมือง และสร้างกลองชัยเอาไว้ เพื่อให้พระนางตียามมีเหตุเดือดร้อนต้องการให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์จะมาช่วยเหลือนางโดยทันที โดยห้ามตีด้วยเหตุไม่จำเป็นเป็นอันขาด
กล่าวถึงชายหนุ่มอีกคนหนึ่งที่มาหลงรักพระนางศรีจันทร์ นั่นคือบุญจันทร์นายทหารคนสนิท ที่พระราชบิดาของพระนางศรีจันทร์ไว้วางพระราชหฤทัย ให้รับใช้ใกล้ชิดพระนางศรีจันทร์ ด้วยความใกล้ชิดทำให้บุญจันทร์หลงรักพระนางศรีจันทร์ แต่พระนางศรีจันทร์ก็ไม่ได้มีใจตอบกับบุญจันทร์ ยังคงคิดกับบุญจันทร์แค่เพื่อนสนิทเท่านั้น วันหนึ่งบุญจันทร์ได้เห็นกลองชัยที่เจ้าชายโฮลมานให้พระนางไว้ ก็นึกอยากตี จึงไปร่ำร้องกับพระนางทุกเช้าเย็น อยากจะขอลองตีกลอง พระนางทนไม่ไหวพูดประชดทำนองว่า ถ้าอยากตีก็ตีไป เพราะคงจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว บุญจันทร์หน้ามืดตามัวด้วยคิดว่านางมีใจให้เจ้าชายโฮลมาน ก็ไปตีกลอง เจ้าชายโฮลมานและไพร่พลก็ปรากฏตัวขึ้นทันที เพราะนึกว่าพระนางศรีจันทร์มีเหตุร้าย พระนางศรีจันทร์เสียใจมาก เมื่อต้องบอกถึงเหตุผลที่ตีกลองให้เจ้าชายทราบ เจ้าชายโฮลมานตำหนิพระนาง และเป็นอันสิ้นสุดสัญญาที่ให้ไว้กับพระนางทันที พระองค์จะไม่มาช่วยเหลือพระนางอีกแล้วแม้จะตีกลองเท่าไหร่ก็ตาม
กล่าวฝ่ายพระราชาที่ส่งพรานป่าเจ็ดคน มาล่าสัตว์แล้วมาพบพระนางในตอนแรกนั้น ก็ส่งทัพมาล้อมเมืองภูมิโปนไว้ พระนางจึงหนีเข้าไปหลบภัยในปราสาทและคิดที่จะยอมตายเสียดีกว่า เพราะคนที่มาหลงรักพระนางแต่ละคนนั้น คนหนึ่งแม้จะเพียบพร้อมก็มีความอัปลักษณ์ คนหนึ่งก็มีความต่างศักดิ์ ด้านชนชั้นจนไม่อาจจะรักกันได้ และยังมีข้าศึกมาประชิดเมืองหมายจะเอาพระนางไปเป็นชายาอีก พระนางจึงพยายามหลบไปด้านที่มีการยิงปืนใหญ่ ตั้งใจจะโดนกระสุนให้ตาย แต่พระนางก็กลับไม่ตายแต่ได้รับบาดเจ็บ แขนซ้ายหักและมีแผลเหนือราวนมด้านซ้ายเล็กน้อย(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านดม-ภูมิโปนจะสังเกตเด็กผู้หญิงคนใดมีลักษณะแขนด้านซ้ายเหมือนเคยหัก และมีแผลเป็นเหนือราวนมด้านซ้าย จะสันนิษฐานว่าพระนางด็อฮ ทม กลับชาติมาเกิด) เมื่อพระราชาตีเข้าเมืองได้จึงรีบรักษานาง ไม่ช้าพระนางก็หาย พระราชาจึงเตรียมยกทัพกลับและจะนำพระนางกลับเมืองด้วย พระนางจึงขออนุญาตพระราชาเป็นครั้งสุดท้ายขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่าถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่นี่ขอให้ต้นลำเจียก อย่าได้ออกดอกอีกเลย หลังจากนั้นพระนางก็ถูกนำสู่นครทางทิศตะวันตก ไปทางบ้านศรีจรูก พักทัพและฆ่าหมูกินที่นั่น (ซี จรูกแปลว่ากินหมู) ทัพหลังตามไปทันที่บ้านทัพทัน (ซึ่งกลายเป็นชื่อบ้านในปัจจุบัน) และเดินทางต่อมายังบ้านลำดวน พักนอนที่นั่น มีการเลี้ยงฉลองรำไปล้มไป รำล้มในภาษาเขมรคือ เรือ็ม ดูล ซึ่งเป็นชื่อของ อ.ลำดวนในปัจจุบัน
ดังนั้นคำว่าภูมิโปน จึงมีความหมายโดยรวมว่า หมู่บ้านแห่งการหลบซ่อน (ภูมิ แปลว่า หมู่บ้าน โปน แปลว่า หลบซ่อน อีกความหมายหนึ่งแปลว่า มะกอก)


ความเห็นส่วนตัว เหมาะสำหรับแวะเพื่อเยี่ยมชม ภายในพื้นที่ของปราสาท อากาศร่มเย็น ให้ คะแนนตรงนี้ 7 เต็ม 10 ครับผม

ข้อมูลเพิ่มเติม


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตลาดสะพานปลาอ่างศิลา ชลบุรี

ตลาดสะพานปลาอ่างศิลา มีอาหารทะเล ที่สดมากมาย
ไปดูตัวอย่างย่อๆกันครับ


ทางเดินบริเวณลานจอดรถ


ของทะเลแปรรูปราคาหลากหลายครับ


ของประดับตกแต่ง ที่แปรรูปมาจากท้องทะเล


ของสดก็มีให้เลือกมากมายหลายร้าน

ความเห็นส่วนตัว ถ้าในความคิดของพ่อครัวแม่ครัว เอาไปเลย 10 คะแนนเต็ม เพราะของทะเลที่นี่ สดมากๆ ยกขึ้นกันมาจากทะเลสดๆเลย สะพานไม่ยาว ครับ ประมาณ 200 เมตร แล้วก็จะมีรถวิ่งทั้ง รถเล็กและรถใหญ่ เพราะเค้าต้องเอาไปส่งด้านนอกด้วย แต่เนื่องจากของมันสด ไม่เป็นไรครับ




หาดพยูน จ.ระยอง

หาดพยูน อยู่ระหว่างหาดน้ำรินและหาดพลา อยู่ห่างจากหาดน้ำริน 1 กิโลเมตร และ อยู่ห่างจากหาดพลา 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดยาวติดต่อกัน นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำได้ มีความสวยงามและสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ในช่วงที่ผ่านมาหาดพะยูนเป็นหาดที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวพักผ่อนเยอะมาก มีโรงแรมเกิดขึ้นมากมาย หลังจากนั้นมาอาจจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่มากเหมือนในอดีต หรือเป็นเพราะจำนวนโรงแรมมีอยู่มากเกินไป จึงมีโรงแรมบางแห่งต้องปิดกิจการลง หาดพลาจึงเป็นที่นิยมมากกว่า สิ่งสำคัญที่หาดพะยูนก็คือมีศาลเจ้าหลวงเตี่ย และสะพานหลวงเตี่ยบ้านพยูน จึงทำให้มีเส้นทางเดินชมหาดติดต่อกันจากหาดพลาถึงหาดพยูนได้








ภาพที่สื่อคงไม่ต้องบอกว่าทำไมถึงชื่อหาด ผยูน


บรรยากาศยามเย็น ไฟที่เห็นเป็นอะไรที่เกี่ยวกับน้ำมัน

ติดต่อสอบถาม ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3869 4101
http://www.tourismthailand.org/rayong


โรงพยาบาลบ้านฉาง จ.ระยอง

สถานที่นี่ เป็นที่ ที่ผมฝึกผดุงครรภ์หรือทำคลอดครับ จะมีอะไรน่าสนใจเลื่อนลงไปดูกันครับ


ทางไปโรงพยาบาลอยู่ตรงตีนเขานิ


สถานที่จอดรถ


ศาลโรงพยาบาล


ตึก ER เก่า ตึกใหม่กำลังสร้างอยู่ ตั้งอยู่ด้านหน้าตึกเก่า


จะไปตึกไหนก็ต้องเดินขึ้นเนินกันบ้าง


ปลูกต้นไม้ไว้เป็นระเบียบ


ทางขึ้นห้องพัก อยู่สูงสุดของเขาเลย


ห้องพักเรา เห็นใหญ่ๆ แต่ 4 คน 1ห้องน่ะครับ


ด้านหน้าหอพัก มองไปก็จะเป็นวิว แบบนี้ ทั้ง ชุมชน บ้านฉางเลยมั้ง


อยู่บนเขาเมฆก็เลยสวยมั้ง


เดินลงมาจากหอพัก ด้านหลังของโรงพยาบาลก็เป็นแบบนี้


จากห้องพักสามารถมองเห็นทะเลได้เลยน่ะครับ


ทางเดินมาข้างล่าง เส้นทางนี้ไม่แนะนำ เพราะไม่มีไฟ แต่วิวสวย


ลงเวรดึกลงมาทางนี้ มีไฟตลอดทาง แต่ห้องดับจิตเป็นทางผ่าน บึยๆ


ก่อนฝึกเสร็จพี่เลี้ยงก็มาเลี้ยงหมูกะทะ


มากินกันที่นี่เลย หมูกะทะคนเมือง


วู้ๆพี่เลี้ยงมาเลี้ยงไอติม


เด็ดสุดในบ้านฉางแระไอติมร้านนี้


เลือกกันเลย



จำชื่อไม่ได้แฮะ!


อันนี้ของผม


พี่จ๋า เจ้ามือเราวันนี้


ก่อนกลับไปทำงานกันต่อ


เราอาศัยเขานี้อยู่

เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ประทับใจ พี่เลี้ยงใจดีทุกคน



























วัดเขาศาลาขุนเขาสมุนไพรไทย

วัดเขาศาลา ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์


 พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง

ประวัติความเป็นมา
พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง ผืนป่าบางส่วนติดชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยการตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ป่าทั้งผืนแห่งนี้ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอีสานใต้ของประเทศไทย

ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 คณะกรรมการวัดได้มีมติในการจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสครั้งนั้น ลักษณะพระอุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ผลจากพลังศรัทธาสามัคคี และความมานะพยายามของพระครูภาวนาวิทยาคม (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาส ตลอดจนคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ได้ร่วมเสียสละกำลังกาย และทุนทรัพย์ อุปถัมภ์การก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ใช้งบทางราชการแต่อย่างใด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2541 เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ตามแบบพระธรรมวินัย และทางวัดได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมี พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธี

ในปี พ.ศ.2547 นอกเหนือจากมีพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตแล้ว ก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เลือกพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วม โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สมัครใจมาปฏิบัติธรรม โดยไม่ถือเป็นวันลาตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


การเดินทางตลอดสายเจอแต่ธรรมชาติทั้งนั้น


ทางขึ้นวัดเขาศาลา


มาถึงสันเขาก็จะเจอพระปรางค์องค์ใหญ่ลงมากราบไหว้


ด้านที่พระปรางค์หันออกไป


สันเขาก็มีสมุนไพรมากมายให้ศึกษา


พญาปล้องทอง


บริเวณทางขึ้นยอดเขาก็ยังมีสมุนไพรอีกมากมาย


บริเวณยอดเขาก็จะมีพระปรางค์รูปใหญ่



เมื่อเดินตรงไปก็จะเจอหน้าผา


รูปปั้นกวางอยู่บนหิน


บริเวณยอดเขาด้านบนจะมีหินเยอะมาก ทับถมกันอยู่


สิ่งที่นักท่องเที่ยวทุกคนไปแล้วชอบทำคือ การนำสิ่งต่างๆมาวางไว้ให้ดูเหมือนการค้ำจุนก้อนหินเชื่อว่า จะโชคดี


ในเมื่อเราเรียนแผนไทยก็ต้องลงไปศึกษาสมุนไพรกันหน่อย


ทางมีทั้งยากและง่ายปนๆกันไป


ต้นคูรูหรือ ต้นเข้าพรรษา ทำไมถึงชื่อนี้ เพราะมันออกดอกเฉพาะวันเข้าพรรษาครับ


กลิ้งกลางดง


ม้ากระทืบโรง


โอ่ววว..ใหญ่กว่านิ้วคนอีก


เก็บกระชายป่า


แล้วก็ขึ้นมาชมวิวสุดท้ายก่อนกลับ


ไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร เค้าไม่ได้เปิดให้เข้าไปดู

ทิ้งท้ายกับภาพวิวครับ^^

ความเห็นส่วนตัว คะแนนเต็ม 10 ให้ 7 ที่นี้มีหลายอย่างที่นักท่องเที่ยวที่ต้องการทำบุญต้องการทั้งบรรยากาศที่เย็นสบาย กับวิว ธรรมชาติสวย

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.m-culture.in.th/album/189012/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3